• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

กรรม หรือการกระทํา แต่ในทางธรรมต้องจํากัดความจําเพาะลงไปว่า หมายถึง การกระทําที่

Started by Posthizzt555, August 03, 2023, 10:34:13 AM

Previous topic - Next topic

Posthizzt555

    กรรม หรือการกระทํา แต่ในทางธรรมต้องจํากัดความจําเพาะลงไปว่า หมายถึง การกระทําที่ประกอบด้วยเจตนา หรือการกระทําที่เป็นไปด้วยความจงใจ ถ้าเป็นการกระทําที่ไม่มี เจตนา ก็ไม่เรียกว่าเป็นกรรมในความหมายทางธรรม 
    อย่างไรก็ตาม ความหมายที่กล่าวมานี้ เป็นความหมายอย่างกลางๆ พอคลุมความได้กว้างๆ เท่านั้น ถ้าจะให้ชัดเจนมองเห็นเนื้อหาและขอบเขตแจ่มแจ้ง ควรพิจารณาการแยกแยะความหมายออกเป็นแง่ หรือเป็น ระดับต่างๆ ดังนี้
    ก. เมื่อมองให้ถึงตัวแท้จริงของกรรม หรือมองให้ถึงต้นตอ เป็นการมองตรงตัวหรือเฉพาะตัว กรรมก็ คือ "เจตนา" อันได้แก่เจตจํานง ความจงใจ การเลือกคัดตัดสิน มุ่งหมายที่จะกระทํา หรือพลังน้ําที่เป็นตัวกระทํา นั่นเอง เจตนาหรือเจตจํานงนี้ เป็นตัวนํา บ่งชี้ความมุ่งหมาย และกําหนดทิศทางแห่งการกระทําทั้งหมดของ มนุษย์ เป็นตัวการหรือเป็นแกนนําในการริเริ่ม ปรุงแต่ง สร้างสรรค์ทุกอย่าง จึงเป็นตัวแท้ของกรรม ดังพุทธพจน์ ที่ว่า "เจตนาห์ ภิกขเว กมุม์ วทามิ" เป็นต้น แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั่นเอง เราเรียกว่ากรรม บุคคลจงใจแล้ว จึงกระทําด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
    ข. มองขยายออกไปให้เห็นตัวการอื่นๆ คือมองเข้าไปที่ภายในกระบวนการแห่งชีวิตของบุคคลแต่ละ คน จะเห็นกรรมในแง่ตัวประกอบซึ่งมีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการแห่งชีวิต เป็นเจ้าหน้าที่ในการปรุงแต่ง โครงสร้างและวิถีที่จะดําเนินไปของชีวิตนั้น กรรมในแง่นี้ตรงกับคําว่า "สังขาร" หรือมักเรียกชื่อว่า สังขาร เช่น อย่างที่เป็นหัวข้อหนึ่งในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งแปลกันว่า สภาพที่ปรุงแต่งจิต หมายความว่า องค์ประกอบหรือ คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนํา ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือให้เป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิด ในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา เป็นกรรมแบบต่างๆ ถ้าจะแปลง่ายๆ ก็ว่า ความคิดปรุงแต่ง แม้ใน ความหมายแง่นี้ ก็ยึดเอาเจตนานั้นเองเป็นหลัก บางครั้งท่านก็แปลเอาง่ายๆ รวบรัดว่า สังขารก็คือเจตนา ทั้งหลายนั่นเอง

    ค. มองเลยออกมาข้างนอกเล็กน้อย คือมองในแง่ของชีวิตที่สําเร็จรูปแล้วเป็นหน่วยหนึ่งๆ หรือมอง ชีวิตที่ด้านนอกอย่างเป็นหน่วยรวมหน่วยหนึ่งๆ ตามที่สมมติเรียกกันว่า บุคคลผู้หนึ่งๆ ซึ่งดําเนินชีวิตอยู่ในโลก เป็นเจ้าของบทบาทของตนๆ ต่างหากๆ กันไป กรรมในแง่นี้ก็คือ การทํา การพูด การคิด หรือการคิดนึก และ การแสดงออกทางกายวาจา หรือความประพฤติที่เป็นไปต่างๆ ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบเก็บเกี่ยวผลเป็น ส่วนตัว ไม่ว่าจะมองแคบๆ เฉพาะเวลาเฉพาะหน้า หรือมองกว้างไกลออกไปในอดีตและอนาคตก็ตาม
    กรรมในความหมายนี้ เข้ากับความหมายกว้างๆ ที่แสดงไว้ข้างต้น และเป็นแง่ความหมายที่กล่าวถึงบ่อย ที่สุด เพราะปรากฏในคําสอนต่อบุคคล มุ่งให้ทุกคนรับผิดชอบต่อการกระทําของตนและพยายามประกอบแต่ กรรมดี เช่น ในพุทธพจน์ว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ เป็นเหตุให้เดือดร้อน สองประการ คืออะไร? บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มิได้ทําความดีงามไว้ มิได้ทํากุศล มีได้ทําบุญซึ่งเป็นเครื่องต่อต้านความ ขลาดกลัวไว้ ทําแต่บาป ทําแต่กรรมหยาบช้า ทําแต่กรรมร้ายกาจ, เขาย่อมเดือดร้อนว่า เรา ไม่ได้ทํากรรมดีงาม ดังนี้บ้าง ว่าเราได้ทําบาปไว้ ดังนี้บ้าง...
    น่าสังเกตว่า เท่าที่สอนกันอยู่บัดนี้โดยมาก นอกจากเน้นกรรมในความหมายนี้แล้ว ยังมักเน้นแต่แง่ อดีตอีกด้วย
    ง. มองกว้างออกไปอีก คือมองในแง่กิจกรรมของหมู่มนุษย์ ได้แก่ กรรม ในความหมายของการ ประกอบอาชีพการงาน การดําเนินชีวิต และการดําเนินกิจการต่างๆ ของมนุษย์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากเจตจํานง การคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ ซึ่งทําให้เกิดความเป็นไปในสังคมมนุษย์อย่างที่เป็นที่เห็นกันอยู่ เช่น พุทธพจน์ใน วาเสฏฐสูตร ว่า
    "ดูกรวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยโครักขกรรมเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็น ชาวนา มิใช่พราหมณ์ผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยศิลปะต่างๆ ผู้นั้นเป็นศิลปินผู้ใดอาศัยการค้าขายเลี้ยงชีพ ผู้ นั้นเป็นพ่อค้าผู้ใดเลี้ยงชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ผู้ใดอาศัยการลักทรัพย์เลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นโจรผู้ใดอาศัยศรและศัสตราเลี้ยงชีพ ผู้นั้นเป็นทหารอาชีพผู้ใดเลี้ยงชีพด้วยหน้าที่ ปุโรหิต ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา หาใช่พราหมณ์ไม่...ผู้ใดปกครองบ้านเมือง ผู้นั้นเป็นราชา หาใช่ พราหมณ์ไม่... ฯลฯ เราเรียกคนที่ไม่มีกิเลสค้างใจ ไม่มีความถือมั่น ว่าเป็นพราหมณ์
    "คนมิใช่เป็นพราหมณ์เพราะชาติกําเนิด แต่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ไม่เป็นพราหมณ์ เพราะกรรม เป็นชาวนาก็เพราะกรรม (การงาน อาชีพ ความประพฤติ การดําเนินชีวิต) เป็น ศิลปิน เป็นพ่อค้า เป็นคนรับใช้ เป็นโจร เป็นทหาร เป็นปุโรหิต และแม้แต่เป็นราชา ก็เพราะ กรรม บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก ย่อมมองกรรมตามเป็น จริงอย่างนี้ โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่ประชาย่อมเป็นไปเพราะกรรม.... หรือดังพุทธพจน์ในอัคคัญญสูตร เช่นว่า
    "ครั้งนั้นแล พวกสัตว์ที่เป็นผู้ใหญ่จึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างปรับทุกข์กันว่า ท่านเอ๋ย ธรรมชั่วร้ายทั้งหลายปรากฏขึ้นในหมู่สัตว์ทั้งหลายเสียแล้วหนอ อันเป็นเหตุให้การลักทรัพย์ ปรากฏมี การติเตียนกันก็ปรากฏมี การพูดเท็จก็ปรากฏมี การถือไม้พลองก็ปรากฏมี อย่ากระนั้น เลย พวกเราจักเลือกตั้ง (สมมติ) สัตว์ผู้หนึ่งขึ้น ให้เป็นผู้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ ให้ เป็นผู้ตําหนิผู้ที่ควรตําหนิได้โดยชอบ ให้เป็นผู้ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ พวกเราจักแบ่งส่วน ข้าวสาลีให้แก่ผู้นั้น ดังนี้
    "ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงพากันเข้าไปหาสัตว์ผู้สง่างาม น่าดูน่าชม น่าเลื่อมใส และน่า เกรงขาม ยิ่งกว่าสัตว์ทั้งหมดนั้นแล้ว แจ้งความตั้งนี้ว่า มาเถิด ท่านสัตว์ผู้เจริญ ท่านจงว่ากล่าว
    ผู้ที่ควรว่ากล่าวได้โดยชอบ จงตําหนิผู้ที่ควรตําหนิได้โดยชอบ จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่ได้โดยชอบ เถิด พวกข้าพเจ้าจักแบ่งส่วนข้าวสาลีให้แก่ท่าน สัตว์ผู้นั้นได้รับคําของสัตว์เหล่านั้นแล้ว...เพราะ เหตุที่เป็นผู้ซึ่งมหาชนเลือกตั้งดังนี้แล จึงเกิดถ้อยคําว่า มหาสมมติ ขึ้นเป็นประถม..." หรือในจักกวัตติสูตร เช่นว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยดังนี้แล เมื่อผู้ครองแผ่นดินไม่จัดเสริมเพิ่มทรัพย์ให้แก่ชน ทั้งหลายผู้ไร้ทรัพย์ ความยากจนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความยากจนถึงความแพร่หลาย การ ลักทรัพย์ก็ถึงความแพร่หลาย เมื่อการลักทรัพย์ถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย การฆ่าฟันสังหารกัน (ปาณาติบาต) ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ การฆ่าฟันสังหารกันถึงความแพร่หลาย การพูดเท็จก็ได้ถึงความแพร่หลาย การพูดส่อเสียด กาเมสุมิจฉาจารธรรมสองอย่าง คือ ผรุสวาท และการพูดเพ้อเจ้อ.อภิชฌาและพยาบาท.. มิจฉาทิฏฐิ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย..."
    อย่างไรก็ตาม แม้จะให้มองความหมายของกรรมครบทั้ง ๔ ระดับอย่างนี้ เพื่อได้ความหมายที่สมบูรณ์ แต่ก็ขอสรุปไว้ว่า จะต้องถือเอาความหมายในแง่ของเจตนาเป็นแกนยืนเสมอไป เพราะเจตนาเป็นตัวการที่นํา มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลาย และกําหนดแนวทางว่าจะเกี่ยวข้องแบบไหน อย่างไร จะเลือกรับอะไร หรือไม่ จะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร จะปรุงแปร ดัดแปลงแต่งเสริมโลกอย่างไร จะทําตัวเป็นช่องทาง แสดงออกของอกุศลธรรมในรูปของตัณหา หรือในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ หรือจะนําหน้าพากุศลธรรมออก ปฏิบัติงานส่งเสริมประโยชน์สุข ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอํานาจอิสระของเจตนาที่จะทํา
    การกระทําใดไร้เจตนา ก็ย่อมไม่มีผลตามกรรมนิยาม คือ ไม่เป็นกรรม ไม่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม กลายเป็นเรื่องของนิยามอื่นทําหน้าที่ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตุนิยาม คือมีค่าเหมือนกับการที่ดินถล่ม ก้อนหินผุ กร่อนร่วงหล่นจากภูเขา หรือกิ่งไม้แห้งหักลงมา เป็นต้น
    ประเภทของกรรม

    กรรมนั้น เมื่อจําแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ แบ่งได้เป็น ๒ อย่าง คือ

    ๑. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล การกระทําที่ไม่ดี กรรมชั่ว หมายถึงการกระทําที่เกิดจากอกุศลมูลคือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ
    ๒. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล การกระทําที่ดี หรือกรรมดี หมายถึง การกระทําที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ

    แต่ถ้าจําแนกตามทวาร คือทางที่ทํากรรม หรือทางแสดงออกของกรรม จัดเป็น ๓ คือ

    ๑. กายกรรม กรรมทําด้วยกาย หรือการกระทําทางกาย
    ๒. วจีกรรม กรรมทําด้วยวาจา หรือการกระทําทางวาจา
    ๓. มโนกรรม กรรมทําด้วยใจ หรือการกระทําทางใจ

    เมื่อจําแนกให้ครบตามหลักสองข้อที่กล่าวมาแล้ว ก็จะมีกรรมรวมทั้งหมด ๖ อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่ละอย่างที่เป็นอกุศล กับกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แต่ละอย่างที่เป็นกุศล
    อีกอย่างหนึ่ง ท่านจําแนกกรรมตามสภาพที่สัมพันธ์กับวิบาก หรือการให้ผล จัดเป็น ๔ อย่าง คือ

    ๑. กรรมดํา มีวิบากดํา ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการเบียดเบียน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และติดสุราเมรัยตั้งอยู่ในความประมาท
    ๒. กรรมขาว มีวิบากขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่ไม่มีการเบียดเบียน ตัวอย่าง คือ การประพฤติตามกุศลกรรมบถ ๑๐
    ๓. กรรมทั้งดําทั้งขาว มีวิบากทั้งดําทั้งขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการเบียดเบียนบ้าง ไม่มีการเบียดเบียนบ้าง เช่น การกระทําของมนุษย์ทั่วๆ ไป
    ๔. กรรมไม่ดําไม่ขาว มีวิบากไม่ดําไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม ได้แก่ เจตนาเพื่อละกรรมทั้งสามอย่างข้างต้น หรือว่าโดยองค์ธรรม ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ หรือ มรรคมีองค์ ๘

    ในชั้นอรรถกถา มีการแบ่งประเภทของกรรมอีกแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมถือตามกันมา และเป็นที่รู้จักกันดีใน ยุคหลังๆ คือ การจัดแบ่งเป็นกรรม ๑๒ หรือกรรมสี่ ๓ หมวด เช่นที่แสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ เป็นต้น แต่ เพื่อป้องกันความฟันเฟือ จึงจะไม่กล่าวไว้ในที่นี้
    ในบรรดากรรม ๓ อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น มโนกรรมสําคัญ ที่สุด และมีผลกว้างขวางรุนแรงที่สุด ดังบาลีว่า
    "ดูกรตปัสสี บรรดากรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ที่เราจําแนกไว้แล้วอย่างนี้ แสดงความแตกต่าง กันแล้วอย่างนี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทําบาปกรรม ในความเป็นไปแห่ง บาปกรรม หาบัญญัติกายกรรมอย่างนั้นไม่ หาบัญญัติวจีกรรมอย่างนั้นไม่"
    เหตุที่มโนกรรมสําคัญที่สุด ก็เพราะเป็นจุดเริ่มต้น คนคิดก่อนแล้วจึงพูดจึงกระทํา คือแสดงออกทาง กายและวาจา ดังนั้น วจีกรรมและกายกรรม จึงขยายออกมาจากมโนกรรมนั่นเอง และที่ว่ามีผลกว้างขวางรุนแรง ที่สุด ก็เพราะว่ามโนกรรมรวมถึง ความเชื่อถือ ความเห็น ทฤษฎี แนวคิด และค่านิยมต่างๆ ที่เรียกว่าทิฏฐิ
    พระอภิธัมมัตถสังคหะ และ อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา, พระพุทธโฆษาจารย์ คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค, พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร) กรรมทีปนี", อัฏฐสาลินีอรรถกถาการจำแนกประเภทของกรรม (กรรม ๑๒)

    จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม

    การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี ๔ อย่าง คือ
    [list=1]
    • ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้[/*]
    • อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า[/*]
    • อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป[/*]
    • อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก[/*]
    จำแนกตามหน้าที่ของกรรม

    กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำ ๔ อย่าง คือ

    [list=1]
    • ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด[/*]
    • อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม[/*]
    • อุปปีฬกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน[/*]
    • อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว[/*]
    จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม

    กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล ๔ อย่าง

    [list=1]
    • ครุกรรม หรือ ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม จัดเป็นกรรมที่หนักที่สุด ให้ผลเร็วและแรง มีทั้งฝ่ายที่เป็นกุศลคือฝ่ายดีและฝ่ายที่เป็นอกุศลคือฝ่ายไม่ดี ครุกรรมที่เป็นกุศลได้แก่ฌานสมาบัติ ๘ ผู้ได้ฌานสมาบัติชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายกุศลที่ดีที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมได้เกิดในพรหมโลกทันที ส่วนครุกรรมที่เป็นอกุศลได้แก่อนันตริยกรรม ๕ มี ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา เป็น ผู้ทำอนันตริยกรรมชื่อว่าได้ทำกรรมฝ่ายอกุศลที่ร้ายแรงที่สุด เมื่อสิ้นชีวิตแล้วย่อมเกิดในนรกทันที ครุกรรมย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่นเสมอ อุปมาเหมือนวัวแก่มีกำลังน้อย แต่ยืนอยู่ตรงปากประตูคอกพอดี ย่อมจะออกจากคอกได้ก่อนวัวหนุ่มอื่นๆ ทั้งหลาย ฉะนั้น[/*]
    • พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม[/*]
    • อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น[/*]
    • กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม ๓ อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไป กรรมนี้จึงจะให้ผล เป็นกรรมทั้งฝ่ายดีและไม่ดีที่ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่มีเจตนาจะให้เป็นอย่างนั้น กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ภาษาวินัยว่าเป็นอจิตตกะ ทำไปก็สักแต่ว่าทำ แม้มีโทษก็ไม่รุนแรง ถือว่าเป็นกรรมที่มีโทษเบาที่สุดในบรรดากรรมทั้งหลาย ถ้าไม่มีกรรมที่หนักกว่าเช่นพหุลกรรม หรือต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล กรรมข้อนี้ ท่านเปรียบเหมือนคนบ้ายิงลูกศร เพราะคนปกติที่ไม่มีฤทธิ์จะไม่รู้เลยว่า เป็นกรรมอะไรที่จะมาให้ผลนำเกิด เนื่องจากทำไว้ในอดีตชาตินั่นเอง[/*]